วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week4: โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (C)

(รูปโดย tweet4tutorial.com)


          ก่อนจะมารู้จักกับภาษาซี ( C ) เราต้องมารู้จักกับคำว่าโปรแกรมภาษาคอมพิมเตอร์กันก่อน                   ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำคัญคือหากไม่มีภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดชุดคำสั่งในการทำงาน

(รูป ตัดต่อเอง)


            คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้จะต้องมีการเขียนโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานโปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมานั้น จะต้องเขียนไปตามกฎเกณฑ์ของภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
           ภาษาของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายระดับ โดยจะเรียกว่า ระดับของภาษา     
           ซึ่งระดับของภาษา (Level of Languages) นั้นแบ่งออกเป็น
  1. ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
  2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Languages)
  3. ภาษาระดับสูง (High-level Languages)
  4. ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Languages)
  5. ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages)

           จากเนื้อหาข้างต้น เราก็ได้ทราบว่าโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไรแล้ว จึงขอยกโปรแกรมภาษามาชนิดหนึ่งก็คือ ภาษาซี ซึ่งจัดอยู่ในระดับภาษาเครื่อง (Machine Languages)


(รูปโดย a2.mzstatic.com)


           ภาษาซี (C Programming Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาครั้งแรกเพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix Opearating System) แทนภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็ว แต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในการโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) จึงได้คิดค้นพัฒนาภาษาใหม่นี้ขึ้นมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 โดยการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละภาษาระดับสูงผนวกเข้ากับภาษาระดับต่ำ เรียกชื่อว่า ภาษาซี 



(รูปโดย listverse.com)


          เมื่อภาษาซี ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีผู้ผลิต compiler ภาษาซีออกมาแข่งขันกันมากมาย ทำให้เริ่มมีการใส่ลูกเล่นต่างๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทาง American National Standard Institute (ANSI) จึงตั้งข้อกำหนดมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อคงมาตรฐานของภาษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี และตัวอย่าง
          โปรแกรมในภาษาซีทุกโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย 
          1. Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ 
          2. Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number 
          3. Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้ 


ที่มา

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 3 : Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

การใช้Social Networkของวัยรุ่นไทย



ยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รูปแบบการสื่อสารได้มีวิวัฒนาการจากการใช้นกพิราบสื่อสาร ไปเป็นการใช้โทรเลข โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และเข้าสู่ยุคของอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบในติดต่อสื่อสารมาแล้ว 2 ยุคนั่นคือ
 ยุคเว็บ 1.0 ยุคของการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point-to-point) เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สร้างเว็บ (Webmaster) กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการบนเว็บนั้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) ที่ผู้ใช้เว็บไม่สามารถตอบโต้ หรือแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ ซึ่งรูปแบบหรือเนื้อหาที่สื่อสารถึงกันนั้นจะมีลักษณะเป็นการรับ-ส่งอีเมล์ (E-Mail), เข้าแชตรูม (Chat Room), ดาวน์โหลดภาพและเสียง หรือไม่ก็ใช้การค้นหาผ่านเว็บ Search Engine เพื่อหาข้อมูลหรือรายงาน รวมทั้งการใช้ Web board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น Instant Messaging Program หรือ IM อาทิ MSN, Yahoo Messenger, Google Talk, Chat และ ICQ
  
 ยุคเว็บ 2.0 เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สร้างเว็บกับผู้ที่ใช้เว็บแบบตอบโต้กันไปมาได้ เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ซึ่งเนื้อหาบนเว็บนั้นนอกจากผู้สร้างเว็บจะเป็นคนนำเสนอข้อมูลแล้ว ผู้ที่เข้ามาอ่านก็สามารถสร้างเนื้อหาหรือตอบโต้กันเองได้และมีการสื่อสารกันเป็นจำนวนมากจาก 1 ไปเป็น 2 3 จนกลายเป็นสังคมเครือข่าย (Social Networking) ซึ่งลักษณะของการสื่อสารกันนั้นจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน การแบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีในลักษณะของการร่วมกันผลิตเนื้อหาและข้อมูลภายในเว็บ การร่วมกันสร้างสรรค์ (Co-Creation) ขยาย (Extend) และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Connect) ระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน อีกทั้ง ยังมุ่งเน้นให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและเป็นรูปแบบที่มีความเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เช่น Wikipedia, Weblog, Facebook, Hi5, YouTube, Myspace, Twitter เป็นต้น

Social Networking ในปัจจุบันอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ “กระแสความนิยม” ในลักษณะวิ่งตามแฟชั่น (Trends) เท่านั้น และความนิยมดังกล่าวจะยังกระจุกตัวอยู่ในสังคมเมือง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งกำลังอยู่ในยุค Net Generation ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมที่มีความนิยมในการใช้อินเตอร์เน็ต และ Social Networking สูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างการยอมรับในสังคม แต่ในอีก 10-20 ข้างหน้า เมื่อคนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับพัฒนาการของเทคโนโลยี พวกเขาจะกลายเป็นกลุ่มพลังสำคัญในการผลักดันให้อัตราเร่งของการใช้งาน Social Networking เพิ่มมากขึ้น อย่างต้าน ไม่อยู่ และอาจกลายเป็น “สื่อหลัก” (Mainstream Media) แห่งการสื่อสาร สื่อที่ทุกคนในสังคมต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารแทนที่สื่อเดิม (Traditional Media) ที่ปัจจุบันกำลังถูกลดบทบาทลง เพราะตราบใดที่การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย มีเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง 3G หรือ 4G ที่สามารถทำให้การติดต่อสื่อสารเร็วขึ้น และตอบสนองได้อย่างทันทีทันใด (Real Time) รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออย่างคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือก็มีราคาถูก ผู้ให้บริการต่างก็หันมาพัฒนารูปแบบการให้บริการที่มีราคาไม่แพงและสามารถตอบสนองความต้องการมากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ กลุ่มวัยรุ่นที่เคยเป็นผู้นำกระแสความนิยมในยุคปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมที่มีบทบาทในการใช้ Social Networking เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอนาคตคนในสังคมโลกมีแนวโน้มว่าอาจต้องใช้ Social Networking เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร และเป็นไปได้ว่า รูปแบบการสื่อสารในสังคมโลกยุคต่อไปจะดำรงอยู่บนโลกเสมือนจริง (Virtual Communication) มากกว่าการสื่อสารที่อยู่บนโลกของความเป็นจริง ดังนั้น เราคงต้องให้ระยะเวลาเป็นตัวขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป

เด็กวัยรุ่นในปัจจุบันที่ค่อนไปทาง Generation Z นั้นถูกยกว่าเป็นประชากรยุคที่โตขึ้นกับ Digital Technology โดยแท้จริง รวมทั้งการที่มีชีวิตช่วงวัยรุ่นมากับ Social Media อย่าง Facebook Twitter และ Instagram ซึ่งแน่นอนว่าต่างกับยุค Generation X / Y ที่อาจจะมีอย่างมากคือเว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือโปรแกรมแชทต่างๆ (อย่างดีก็ Hi5) นั่นทำให้นักการตลาดหลายๆ คน​ (ที่อยู่ในยุค Gen X / Y) พยายามหาคำตอบว่าวัยรุ่นยุคใหม่นั้นจะมีพฤติกรรมการใช้ Social Media อย่างไร 
Pew Research Center ได้รวบรวมข้อมูลและผลสำรวจต่างๆ มาอธิบายรูปแบบพฤติกรรมการเปิดเผยข้อมูลของวัยรุ่นใน Social Media แล้วทำเป็น Infographic เพื่อให้ดูง่ายต่อการเข้าใจ โดยต้องบอกกันก่อนนิดนึงว่านี่เป็นข้อมูลในฝั่งอเมริกาเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามวัยรุ่นชาวไทยก็คงมีพฤติกรรมไม่ได้ทิ้งกันมากนัก อาจจะต่างกันเล็กน้อยในแง่การกระจายของเทคโนโลยี
  • 91% ของวัยรุ่นมีกาณโพสต์รูปภาพของตัวเองใน Social Media ในขณะที่ 24% มีการโพสต์วีดีโอของตัวเอง
  • 53% ของวัยรุ่นมีการโพสต์เปิดเผยอีเมล์ของตัวเองใน Social Media ในขณะที่ 20% มีการเปิดเผยเบอร์โทรศัพท์
  • 26% ของวัยรุ่นบอกว่าให้ข้อมูลปลอมบน Social Media เพื่อช่วยป้องการความเป็นส่วนตัว
  • ในบรรดาความสัมพันธ์บน Facebook นั้น กลุ่มที่เป็นเพื่อนมากที่สุดคือเพื่อนที่โรงเรียน ในขณะที่ครูและอาจารย์จะมีเพียง 30%
  • 33% ของเพื่อนบน Facebook ไม่เคยมีการเจอตัวจริงแต่อย่างใด
  • 30% มีการติดตามดารา นักกีฬา หรือคนมีชื่อเสียง
  • 60% มีการตั้ง Facebook Profile เป็น Private Account แต่มีเพียง 24% ที่ใช้ Twitter Private Accoun

Week 2 : รีวิวบุฟเฟต์เค้ก BAKE A WISH

ร้านเปิด10.00น.-20.00น.ค่ะ สำหรับบุฟเฟ่ต์จะมีจันทร์ถึงศุกร์ (กำหนดเวลาคือ1ชั่วโมง30นาที) เวลาประมาณ11.00น.-6.30น. คือปิดรับลูกค้าคนสุดท้ายตอน6.30น.และลูกค้านั่งทานไปจนร้านปิดเลยค่ะ 
    มีโปรโมชั่นสำหรับนักเรียนนักศึกษาได้ราคา300บาท//ปกติ380บาท ผู้ใหญ่ทั่วไป450บาท 
ที่นั่งอยู่บริเวณชั้น3ค่ะ 
 ร้านเค้กก็ต้องนึกถึงบุฟเฟ่ต์เค้ก แต่มีอาหารให้บริการด้วยเหมือนกันค่ะ
มาดูขนมกันดีกว่าค่ะ







ชาพีชค่ะ หอม เปรี้ยวนิดๆหวานหน่อยๆ ตัดเลี่ยนได้ดีค่ะ นอกจากชาพีชก็มีชาแอปเปิ้ล โกโก้ ชาเขียว //การันตีว่าเมนูเครื่องดื่มที่นี่อร่อยทุกอย่างค่ะ นอกจากนี้ยังมีน้ำอัดลมกับน้ำเปล่าบริการด้วยค่ะ อยู่ในบุฟเฟต์ทั้งหมด 

Special Dish!!
นอกจากอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ยังมีไอศครีมด้วยค่ะ
สำหรับการบริการจัดว่าโอเคค่ะ พนักงานยิ้มแย้มบริการดี โดยเฉพาะชั้น4ที่เป็นบุฟเฟ่ต์ เหมือนขึ้นสวรรค์จริงๆค่ะ ขนมเต็มไปหมด แถมยังมีคนคอยบริการส่งถึงที่
รสชาติอาหารขนมอยู่ในเกณฑ์ดีค่ะ คุณภาพตามชื่อเสียงของร้านเลย จะเสียตรงที่เมนูอาหารยังขาดความหลากหลายไปหน่อย ส่วนขนมเค้กไม่ต้องพูดถึงค่ะเยอะจนเลือกไม่ถูกบางเมนูก็ไม่เห็นวางขายที่ตู้ชั้นล่าง มีให้เลือกเยอะมากจริงๆค่ะ 
ร้านก็สะอาดดีค่ะ หลังจากปิดร้านปรับปรุงไปครั้งใหญ่รู้สึกว่าความสะอาดดีขึ้นมากๆเลยค่ะ ชอบดีไซน์ของร้านที่ทำให้รู้สึกกว้างได้ทั้งๆที่เป็นแค่ตึกแถวตึกเดียว 

ราคา : ผู้ใหญ่/ทั่วไป450.- นักเรียน/นักศึกษา 380.- (บัตรนักเรียน/นักศึกษา/ในเครื่องแบบ+โชว์บัตรประชาชนอายุไม่เกิน22ปี)
โปรโมชั่น : เฉพาะนักเรียนนักศึกษา ราคา300บาท //หมดโปรโมชั่นสิ้นเดือนมิถุนายน
เวลา : ร้านเปิด10.00น.-20.00น. บุฟเฟ่ต์เปิด11.00น.-6.30น. (เวลารับประทาน1ชั่วโมง30นาที)
ที่ตั้ง : ร้านเบคอะวิช ซอยสุขสวัสดิ์19 ถนนสุขสวัสดิ์ 

เครดิต: http://pantip.com/topic/32205949

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week1 : เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันของนักเรียน

 ปัจจุบันเทคโนโลยีหรือไอทีเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมาก โดยเฉพาะในหมู่ของวัยรุ่น เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำงาน การสืบค้นข้อมูล รวมไปถึงการติดต่อสื่อสาร



 ทคโนโลยี คือ การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติกฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างไกลเป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีนั้นสามารถทำให้เราเชื่อมต่อกับคนทั้งโลกได้เพียงในเวลาไม่กี่วินาทีและสามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆหรือสืบค้นข้อมูลได้ในเวลาไม่นาน 


แต่อย่างไรก็ตาม การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันก็เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน เพราะในบางครั้งก็นำโทษมาให้แก่มนุษย์ด้วยเช่นกันเหมือนที่เราพบได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันเกี่ยวกับการถูกหลอกไปข่มขืนบางหรือหลอกในเสียเงินและทรัพย์สินบาง เนื่องจากการนำมาเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นการคุยกับคนแปลกหน้าบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คทำให้ถูกหลอกล่วงได้ นอกจากนี้ก็ยังมีการนำเสนอเว็ปไซด์ที่เป็นเว็ปไซด์โป๊ หรือมีการนำเสนอสิ่งที่อนาจารลงในเว็ปไซด์ และ จนเป็นเหตุทำให้นำไปสู่การกระทำอันผิดทางเพศในปัจจุบัน


        จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีที่ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องไม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทั้งตนเองและผู้อื่น และในขณะเดียวกันมนุษย์เราก็จะต้องหันกลับมาพึ่งพาตัวเองบ้าง และใช้เทคโนโลยีเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

เครดิต : http://my.dek-d.com/hierophant/blog/


            :http://kmc.lpg3.go.th/wp-content/uploads/2013/03/images-2.jpg