วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 3 : Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

การใช้Social Networkของวัยรุ่นไทย



ยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รูปแบบการสื่อสารได้มีวิวัฒนาการจากการใช้นกพิราบสื่อสาร ไปเป็นการใช้โทรเลข โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และเข้าสู่ยุคของอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบในติดต่อสื่อสารมาแล้ว 2 ยุคนั่นคือ
 ยุคเว็บ 1.0 ยุคของการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point-to-point) เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สร้างเว็บ (Webmaster) กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการบนเว็บนั้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) ที่ผู้ใช้เว็บไม่สามารถตอบโต้ หรือแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ ซึ่งรูปแบบหรือเนื้อหาที่สื่อสารถึงกันนั้นจะมีลักษณะเป็นการรับ-ส่งอีเมล์ (E-Mail), เข้าแชตรูม (Chat Room), ดาวน์โหลดภาพและเสียง หรือไม่ก็ใช้การค้นหาผ่านเว็บ Search Engine เพื่อหาข้อมูลหรือรายงาน รวมทั้งการใช้ Web board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น Instant Messaging Program หรือ IM อาทิ MSN, Yahoo Messenger, Google Talk, Chat และ ICQ
  
 ยุคเว็บ 2.0 เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สร้างเว็บกับผู้ที่ใช้เว็บแบบตอบโต้กันไปมาได้ เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ซึ่งเนื้อหาบนเว็บนั้นนอกจากผู้สร้างเว็บจะเป็นคนนำเสนอข้อมูลแล้ว ผู้ที่เข้ามาอ่านก็สามารถสร้างเนื้อหาหรือตอบโต้กันเองได้และมีการสื่อสารกันเป็นจำนวนมากจาก 1 ไปเป็น 2 3 จนกลายเป็นสังคมเครือข่าย (Social Networking) ซึ่งลักษณะของการสื่อสารกันนั้นจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน การแบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีในลักษณะของการร่วมกันผลิตเนื้อหาและข้อมูลภายในเว็บ การร่วมกันสร้างสรรค์ (Co-Creation) ขยาย (Extend) และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Connect) ระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน อีกทั้ง ยังมุ่งเน้นให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและเป็นรูปแบบที่มีความเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล เช่น Wikipedia, Weblog, Facebook, Hi5, YouTube, Myspace, Twitter เป็นต้น

Social Networking ในปัจจุบันอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ “กระแสความนิยม” ในลักษณะวิ่งตามแฟชั่น (Trends) เท่านั้น และความนิยมดังกล่าวจะยังกระจุกตัวอยู่ในสังคมเมือง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งกำลังอยู่ในยุค Net Generation ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมที่มีความนิยมในการใช้อินเตอร์เน็ต และ Social Networking สูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างการยอมรับในสังคม แต่ในอีก 10-20 ข้างหน้า เมื่อคนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับพัฒนาการของเทคโนโลยี พวกเขาจะกลายเป็นกลุ่มพลังสำคัญในการผลักดันให้อัตราเร่งของการใช้งาน Social Networking เพิ่มมากขึ้น อย่างต้าน ไม่อยู่ และอาจกลายเป็น “สื่อหลัก” (Mainstream Media) แห่งการสื่อสาร สื่อที่ทุกคนในสังคมต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารแทนที่สื่อเดิม (Traditional Media) ที่ปัจจุบันกำลังถูกลดบทบาทลง เพราะตราบใดที่การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย มีเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง 3G หรือ 4G ที่สามารถทำให้การติดต่อสื่อสารเร็วขึ้น และตอบสนองได้อย่างทันทีทันใด (Real Time) รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออย่างคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือก็มีราคาถูก ผู้ให้บริการต่างก็หันมาพัฒนารูปแบบการให้บริการที่มีราคาไม่แพงและสามารถตอบสนองความต้องการมากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ กลุ่มวัยรุ่นที่เคยเป็นผู้นำกระแสความนิยมในยุคปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมที่มีบทบาทในการใช้ Social Networking เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอนาคตคนในสังคมโลกมีแนวโน้มว่าอาจต้องใช้ Social Networking เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร และเป็นไปได้ว่า รูปแบบการสื่อสารในสังคมโลกยุคต่อไปจะดำรงอยู่บนโลกเสมือนจริง (Virtual Communication) มากกว่าการสื่อสารที่อยู่บนโลกของความเป็นจริง ดังนั้น เราคงต้องให้ระยะเวลาเป็นตัวขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป

เด็กวัยรุ่นในปัจจุบันที่ค่อนไปทาง Generation Z นั้นถูกยกว่าเป็นประชากรยุคที่โตขึ้นกับ Digital Technology โดยแท้จริง รวมทั้งการที่มีชีวิตช่วงวัยรุ่นมากับ Social Media อย่าง Facebook Twitter และ Instagram ซึ่งแน่นอนว่าต่างกับยุค Generation X / Y ที่อาจจะมีอย่างมากคือเว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือโปรแกรมแชทต่างๆ (อย่างดีก็ Hi5) นั่นทำให้นักการตลาดหลายๆ คน​ (ที่อยู่ในยุค Gen X / Y) พยายามหาคำตอบว่าวัยรุ่นยุคใหม่นั้นจะมีพฤติกรรมการใช้ Social Media อย่างไร 
Pew Research Center ได้รวบรวมข้อมูลและผลสำรวจต่างๆ มาอธิบายรูปแบบพฤติกรรมการเปิดเผยข้อมูลของวัยรุ่นใน Social Media แล้วทำเป็น Infographic เพื่อให้ดูง่ายต่อการเข้าใจ โดยต้องบอกกันก่อนนิดนึงว่านี่เป็นข้อมูลในฝั่งอเมริกาเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามวัยรุ่นชาวไทยก็คงมีพฤติกรรมไม่ได้ทิ้งกันมากนัก อาจจะต่างกันเล็กน้อยในแง่การกระจายของเทคโนโลยี
  • 91% ของวัยรุ่นมีกาณโพสต์รูปภาพของตัวเองใน Social Media ในขณะที่ 24% มีการโพสต์วีดีโอของตัวเอง
  • 53% ของวัยรุ่นมีการโพสต์เปิดเผยอีเมล์ของตัวเองใน Social Media ในขณะที่ 20% มีการเปิดเผยเบอร์โทรศัพท์
  • 26% ของวัยรุ่นบอกว่าให้ข้อมูลปลอมบน Social Media เพื่อช่วยป้องการความเป็นส่วนตัว
  • ในบรรดาความสัมพันธ์บน Facebook นั้น กลุ่มที่เป็นเพื่อนมากที่สุดคือเพื่อนที่โรงเรียน ในขณะที่ครูและอาจารย์จะมีเพียง 30%
  • 33% ของเพื่อนบน Facebook ไม่เคยมีการเจอตัวจริงแต่อย่างใด
  • 30% มีการติดตามดารา นักกีฬา หรือคนมีชื่อเสียง
  • 60% มีการตั้ง Facebook Profile เป็น Private Account แต่มีเพียง 24% ที่ใช้ Twitter Private Accoun

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น